การกำหนดค่าให้กับตัวแปรสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1. การรับค่าจากภายนอก
r <– input(“กรุณากรอกข้อมูล”)
2. การกำหนดค่าจากค่าคงที่หรือตัวแปรอื่นๆ
PI <– 3.14
3. การกำหนดค่าจากการคำนวณ
result <– 5 + 8
สัญลักษณ์ที่นิยมใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับตัวแปร คือ <– (ลูกศรที่หันหัวไปทางซ้าย) ใช้เพื่อนำค่าทางขวาลูกศร ไปกำหนดค่าให้ตัวแปรที่อยู่ทางซ้ายลูกศร เช่น
r <– input(“กรุณากรอกข้อมูล”) # รับข้อมูลจากคีย์บอร์ด นำมาเก็บในตัวแปร r
PI <– 3.14 # กำหนดค่า 3.14 นำมาเก็บในตัวแปร PI
result <– 5 + 8 # คำนวณค่า 5 + 8 แล้วนำผลลัพท์ที่ได้มาเก็บในตัวแปร result
result2 <– 2 x r x PI # คำนวณค่า 2 คูณ ค่าในตัวแปร r และค่าในตัวแปร PI แล้วนำผลลัพท์ที่ได้มาเก็บในตัวแปร result2
การตั้งชื่อตัวแปร
ชื่อตัวแปร ใช้เป็นตัวแทนของการเรียกข้อมูล ดังนั้น ชื่อตัวแปรต้องสื่อความหมายว่าข้อมูลนั่นๆคืออะไร
ข้อมูลที่ต้องการเก็บ | ชื่อตัวแปร |
---|---|
รหัสประจำตัว | id |
ชื่อ | name |
นามสกุล | sname |
อายุ | age |
หลักการตั้งตัวแปร
ในการเขียนโปรแกรม การกำหนดชื่อตัวแปรจะมีหลักเกณฑ์แตกต่างกันไป ตามแต่ละภาษาที่ใช้เขียนแต่ส่วนใหญ่ มีหลักเกณฑ์คล้ายกันคือ
1.ชื่อตัวแปรต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ A-Z หรือ a-z หรือเครื่องหมาย _ (Underscore)
2.ชื่อตัวแปรสามารถตามด้วยตัวเลข หรือตัวอักษรภาษาอังกฤษ ก็ได้
3.ห้ามเว้นวรรค หรือเครื่องหมายแปลกๆ เช่น ! @ # $ %
4.ห้ามตั้งชื่อด้วยคำสงวน เช่น if ,else , for , do, while
ตัวอย่าง คำนวณพื้นที่สี่เหลี่ยม

สรุป
สัญลักษณ์ที่นิยมใช้สำหรับกำหนดค่าให้กับตัวแปร คือ <– (ลูกศรที่หันหัวไปทางซ้าย)
การกำหนดค่าให้กับตัวแปรสามารถทำได้ 3 วิธี คือ
1. การรับค่าจากภายนอก
2. การกำหนดค่าจากค่าคงที่หรือตัวแปรอื่นๆ
3. การกำหนดค่าจากการคำนวณ
ชื่อตัวแปร ใช้เป็นตัวแทนของการเรียกข้อมูล ดังนั้น ชื่อตัวแปรต้องสื่อความหมายว่าข้อมูลนั่นๆ
อ้างอิง
หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้น ม.1 – สสวท.
สำหรับคนที่ชอบบทความนี้ อย่าลืมกด share หรือ กด like ที่ช่อง Fackbook: https://www.facebook.com/KidsCodeOnlineTH/ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมงานด้วยนะครับ