เป็นธรรมเนียมในการเริ่มต้นเขียนโปรแกรมของเกือบทุกภาษา ต้องเริ่มต้นเขียนโปรแกรมแสดงข้อความ “Hello World” ออกทางหน้าจอ ดังนั่นในบทนี้เราจะทดลองเขียนโปรแกรม ดังนี้
# First Program text = "Hello World" print(text)
จากตัวอย่างเป็นโปรแกรมแสดงข้อความ “Hello World” ออกทางหน้าจอ
บรรทัดที่ 1 คือ การคอมเมนต์ในภาษา Python โดยให้เริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย # นำหน้าข้อความที่ต้องการคอมเมนต์
บรรทัดที่ 2 คือ การประกาศตัวแปรชื่อ text เพื่อใช้เก็บข้อความว่า “Hello World”
บรรทัดที่ 3 คือ การเรียกใช้ฟังก์ชัน print แสดงข้อความที่อยู่ในตัวแปร text ออกทางหน้าจอ
ผลลัพท์

Statement
Statement คือ คำสั่งที่เขียนในโปรแกรม ที่สามารถทำงานได้ โดยในภาษา python นั่นสามารถแบ่งได้ด้วยการขึ้นบรรทัดใหม่ หรือใช้เครื่องหมายเซมิโคลอน ( ; ) เหมือนภาษาอื่นๆก็ได้
print("Hello World") print("Welcome to Python Language.") print("Python is a popular programming language")
การใช้เซมิโคลอน ( ; ) ต่อท้ายคำสั่ง มีข้อดีคือการแบ่งคำสั่ง หรือ statement จะทำให้สามารถเขียนหลายคำสั่งในบรรทัดเดียวกันได้
print("Hello World"); print("Welcome to Python Language."); print("Python is a popular programming language");
Comments
Comments คือ การใส่ข้อความเพื่ออธิบายโปรแกรม โดยตัวแปรภาษาจะข้ามบรรทัดนี้
ในภาษา python สามารถประกาศ comment ได้จะใส่เครื่องหมาย # หน้าข้อความในบรรทัด และข้อความทั้งหมดจากบรรทัดนั่นจะไม่ถูกตัวแปรภาษาทำงาน
# First Program # #Python is a popular programming language.
หรือ สามารถเขียน comment หลายบรรทัด โดยใช้ triple quotes ( “””) ใส่หน้า comment และท้ายปิด
""" First Program Python is a popular programming language. It was created by Guido van Rossum, and released in 1991. It is used for: - web development (server-side), - software development, - mathematics, - system scripting. """
Indentation
ภาษา python ใช้การเว้นวรรค หรือ tab ในการกำหนดขอบเขตของโปรแกรม โดยการเว้นวรรคต้องเว้นวรรค 4 ครั้ง ดังนั่นแนะนำให้ใช้ tab ในการกำหนดขอบเขตของคำสั่ง
print("Welcome to Python") if 5 > 2: print("Five is greater than two!") print(".....................")
จากตัวอย่างจะเห็นว่า บรรทัดที่ 3 มี tab หน้าคำสั่ง ดังนั่นคำสั่ง print(“Five is greater than two!”) อยู่ในขอบเขตของ if block จะทำงานต่อเมื่อ 5 > 2 เป็นจริงเท่านั่น
Variables
ภาษา python ตัวแปรจะถูกสร้างเมื่อมีการกำหนดค่าให้ตัวแปร
number = 5 name= "John"
ตัวแปรไม่จำเป็นต้องประกาศชนิดของข้อมูล ภาษา python จะกำหนดชนิดของตัวแปร และสามารถเปลี่ยนชนิดตัวแปรให้ด้วยอัตโนัติ
** ความสามารถในการเปลี่ยนชนิดตัวแปรตามข้อมูลที่กำหนดให้ตัวแปรได้นั่น เป็นจุดเด่นของภาษา python
ตัวอย่างโปรแกรม Python
#โปรแกรมคำนวณราคากระเป๋า bagPrice = 1100 print("กระเป๋าราคา", bagPrice, "บาท") count = int(input("ซื้อกระเป๋าจำนวน :")) if count < 3: print("ได้ส่วนลด 10%") totalPrice = (1100 * 0.9) * count else: print("ได้ส่วนลด 20%") totalPrice = (1100 * 0.8) * count print("ต้องจ่ายเงินทั้งหมด", totalPrice, "บาท")
บรรทัดที่ 1 comment ข้อความอธิบายโปรแกรม ว่าเป็น “โปรแกรมคำนวณราคากระเป๋า”
บรรทัดที่ 2 ประกาศตัวแปร bagPrice กำหนดราคากระเป๋า 1100
บรรทัดที่ 3 แสดงข้อความออกทางหน้าจอว่า “กระเป๋าราคา 1100 บาท” ( 1100 คือค่าที่เก็บในตัวแปร bagPrice )
บรรทัดที่ 4 รับค่าจำนวนกระเป๋าที่ซื้อ โดยแสดงข้อความว่า “ซื้อกระเป๋าจำนวน :” เพื่อถามจำนวนกระเป๋า แล้วเก็บไว้ในตัวแปร count
บรรทัดที่ 6 กำหนดเงื่อนไข ถ้าค่า count น้อยกว่า 3 ในทำงานใน if-block
บรรทัดที่ 7-8 เป็นคำสั่งที่อยู่ใน if-block จะทำงานเมื่อเงื่อนไขใน if-block เป็นจริง
บรรทัดที่ 9 กำหนด else-block
บรรทัดที่ 10-11 เป็นคำสั่งที่อยู่ใน else-block จะทำงานเมื่อเงื่อนไขใน if-block เป็นเท็จ
บรรทัดที่ 13 แสดงข้อความออกทางหน้าจอว่า “ต้องจ่ายเงินทั้งหมด” ตามด้วยค่าที่ totalPrice ที่ได้จากการคำนวณ
สำหรับคนที่ชอบบทความนี้ อย่าลืมกด share หรือ กด like ที่ช่อง Fackbook: https://www.facebook.com/KidsCodeOnlineTH/ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับทีมงานด้วยนะครับ